ชาวภูไท
คำว่า "ผู้ไทย" บางท่านมักเขียนว่า "ภูไท" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานเขียนว่า
"ผู้ไทย" ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยและแค้นสิบสองปันนา
(ดินแดนส่วนเหนือ)ของลาวและเวียตนามซึ่งติดต่อกับส่วนใต้ของประเทศจีน)
ราชอาณาจักไทยได้สูญสียดินแดนแค้วนสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107
(พ.ศ.2431)
ชาวผู้ไทยและบ้านเรือนของชาวผู้ไทย
เมื่อ 60 ปีก่อน
|
เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น
2 พวกคือ
1. ผู้ไทยดำ
มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
2. ผู้ไทยขาว
มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว
เอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่ง
ของชาวผู้ไทย คือ เหล้าอุ (เหล้าไหทำจากข้าวเปลือก มีไม้ซางดูด) จนกล่าวได้ว่าชาวผู้ไทย อยู่ที่ใดต้องมีเหล้าอุอยู่ที่นั่น |
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย"
หรือ "สองเจ้าไทย" ต่อมาสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ)
แห่งนครเวียงจันทน์ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยผู้หนึ่งมีนามว่า "พระยาศรีวรราช"
ได้มีความดีความชอบช่วยปราบกบฎในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบ พระมหากษัตริย์จึงได้พระราชทานพระธิดาชื่อ
"พระศรีวรราช" ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรอันเกิดจาก
พระศรีวรราชหัวหน้าผู้ไทยและเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย
คือ สิบอแก, เมืองเชียงค้อ, เมืองวังและเมืองตะโปน (เซโปน) สำหรับเมืองวังตะโปนเป็นเมืองของชาวผู้ไทยทที่ตั้งขึ้นใหม่ทางตอนใต้ของราช
อาณาจักรเวัยงจันทน์ (ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน)
ต่อมาชาวผู้ไทยจากเมืองวังและเมืองตะโปน ได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองต่างๆ
ขึ้นอีก คือ เมืองพิน, เมือง,นอง, เมืองพ้อง, เมืองพลาน, เมืองเชียงฮ่ม,
เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์
ของ พระบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาเสรีในหนังสือชื่อ "พระราชธรรมเนียมลาว
พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2479 ซึ่งพระองค์เธอเป็นพระราชธิดาของราชกาลที่ 4
และเจ้าจอมมารดาดวงคำ ซึ่งเจ้าจอมมารดาดวงคำเป็นพระราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์)
ชาวผู้ไทยเมื่อ
80 ปีก่อน
|
เมืองวัง, เมืองตะโปน เป็นถินกำเนิดของชาวผู้ไทยในฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ก่อนที่จะอพยบเข้ามาอยู่ในภาคอีสานปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อตอน เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2369 ต่อมาเมื่อกองทัพไทยยกยกข้ามแม่น้ำโขงไปปราบ ปรามจนสงบราบคาบแล้ว ทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยบชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปนจากชายแดนปลายพระราชอาณาเขต ซึ่งใกล้ชิดติดกับแดนญานให้ข้ามโขงมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่ง ขวาแม่น้ำโขง (ภาคอีสาน)ให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัยมิให้เป็นกำลังแก่นครเวียง จันทน์และฝ่ายญานอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...
1. |
เมืองเรณูนคร
ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง
มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร
ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) |
2. |
เมืองพรรณานิคม
ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง
จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์"
เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว
คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร
ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) |
3.
|
เมืองกุฉินารายณ์
ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน
3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์"
ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง
เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) |
4.
|
เมืองภูแล่นช้าง
ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังจำนวน
3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง"
ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น
"พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) |
5. | เมืองหนองสูง
ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเขียว
(อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี
ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี)
ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่
อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก
ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) |
6. |
เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน
(เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเขต
ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี
ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม"
เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุบเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม
ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม
จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58
หอสมุดแห่งชาติ) |
7. | เมืองคำเขื่อนแก้ว
ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง
จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว
ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์"
เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก
คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย
ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) |
8. | เมืองวาริชภูมิ
ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง
ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขงในแขวงคำม่วนฝั่งลาว
จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า
แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ"
ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอยเขตเมืองสกลนคร
จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อำเภอวาริชภูมิ
จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์
เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) |
9. | เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) |